อธิการบดี
ปี
โครงการ
ดาวสามดวงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญและเจียระไนให้สุกสว่างเจิดจรัส คือ ดาววิชาการและวิจัย ดาวนิสิต และดาวชุมชน ซึ่งดาวทั้งสามดวงนี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เพียรเจียระไนสืบเนื่องมาจากรากเหง้าทางการศึกษาของตน การศึกษาที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของโลกใบนี้ ทั้งความเป็นตัวตนของมนุษย์ มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับโลก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จักรวาล การแก้ปัญหาวิกฤตโลกและวิกฤตสังคม ต้องแก้ด้วยการศึกษาเป็นประการสำคัญ และจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนสืบไป
เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยวันนี้ จึงเป็น “การบริหารจัดการอนาคต” อย่างสำคัญยิ่ง เราเชื่อมั่นว่า เหล่านี้คือ “จุดเปลี่ยน มศว” ในห้วงเวลาหลัง 60 ปี มศว และเราเชื่อมั่นว่า วันเวลาเช่นนี้จะกลายเป็นรากฐานที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างแน่นอน
ด้วยอุดมการณ์ นโยบายและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะก้าวรุกไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบหรือมหาวิทยาลัยพหุศาสตร์ที่คมชัด ก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกระแสสากล จากประชาคมอาเซียน เอเชีย และนานาชาติ ในขั้วหนึ่ง และอีกขั้วหนึ่งยังพัฒนาจากรากฐานของตนเองไปสู่อีกกระบวนทัศน์หนึ่ง ก้าวไปสู่ชุมชนและตีนติดดินด้วยกระบวนการใหม่บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พวกเราประสงค์จะเป็นต้นแบบของกระบวนการบริหารจัดการทางการศึกษาสู่ชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อประกาศ “ดาวชุมชน” ให้สุกสว่างให้จงได้
มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยหนึ่งในสังคมทางวิชาการอันมีทั้งสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่เฉกเช่นปัจเจกบุคคลทั่วไป หน้าที่หลักสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ ร่วมกับชุมชนและสังคม จึงก่อให้เกิดพันธกิจบริการวิชาการแก่สังคมขึ้น โดยมุ่งยกระดับ เพิ่มพูนความรู้ กระจายโอกาส และส่งเสริมการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ท้องถิ่น ประชาชนทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “หนึ่งจังหวัด หนึ่งมหาวิทยาลัย” เพื่อน้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาแปรสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีจิตสำนึกและตระหนักมาโดยตลอดถึงความสำคัญของชุมชนและสังคมตระหนักถึงบุญคุณที่ชุมชนมีต่อมหาวิทยาลัย
โครงการสร้างค่ายแรงบันดาลใจเพื่อรับใช้สังคมสำหรับบุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ปลูกจิตสำนึกการมีจิตอาสารับใช้สังคม เป็นพลังสร้างสรรค์ในทางบวก ทำให้นิสิตและบุคลากรได้เรียนรู้ในพื้นที่จริง ณ วิทยาลัยโพธิวิชาลัย จังหวัดสระแก้ว และ จังหวัดตาก เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากปราชญ์ชาวบ้าน หล่อหลอมให้เกิดความเข้าใจในการคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เพื่อให้นิสิตและบุคลากรที่ผ่านการเข้าร่วมค่ายนี้ เกิดแรงบันดาลใจในชีวิตส่วนตนและชีวิตการทำงาน อันจะเป็นผลดีต่อการเป็นนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้ชื่อว่า เป็นคนดี คนเก่ง และรับใช้สังคม
มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของศักยภาพในหน่วยงานที่สามารถทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนในการช่วยพัฒนาชุมชนและสังคม โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการมาบูรณาการร่วมกันภายในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปใช้ในการช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคม รวมถึงขับเคลื่อนนำร่องการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรมและพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยต้นแบบ “มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม” ที่นำร่องในด้านการนำความรู้ที่มีช่วยเหลือสังคม สามารถสร้างเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
มหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนพันธกิจการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างจริงจังและเข้มแข็ง ในการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับชุมชนและภาคีต่างๆ ในการส่งผ่านองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละโครงการได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับชุมชน ทำให้เห็นคุณค่าของคนทำงานทุกโครงการที่เปี่ยมไปด้วยจิตอาสา
รองอธิการดีฝ่ายบริหาร
-------------------
รองอธิการดีฝ่ายพัฒนากิจการเพื่อสังคม
รองอธิการดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม
ก่อตั้งศูนย์บริการวิชาการแก่สังคม พ.ศ.2547
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สาระและความสำคัญของพันธกิจการบริการวิชาการแก่สังคมที่เชื่อมโยงในหลายมิติ จนนำไปสู่การกำหนดงานบริหารวิชาการแก่สังคมให้มีความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างโครงการใหม่ๆที่ส่งผลต่อการได้รับงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้น โครงการบริการวิชาการแก่สังคมมีความหลายหลายทั้งชุมชนในเมืองและชุมชนต่างจังหวัดหลายโครงการ แม้หลายโครงการจะต้องมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็ง แต่หลายโครงการได้แสดงศักยภาพ พลังร่วม และส่งผลต่อสังคม ชุมชน อย่างน่าชื่นชม
เปลี่ยนเป็นส่วนกิจการเพื่อสังคม 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
การผลักดันแนวคิด “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เพื่อน้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาแปรสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ทุกมหาวิทยาลัยได้มีบทบาทในการร่วมพัฒนาสังคมประเทศชาติ ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นที่รวมของบุคคลระดับมันสมองของประเทศควรมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำงานเชิงรุกหรือเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำในการพัฒนาสังคม .
114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110โทร 0-2649-5000 ต่อ 15925, 15669, 11396, 11398 (พัสดุ-การเงิน) 11397, 15058E-mail : ssoswu@g.swu.ac.th